เภสัชอาสาพาเลิกบุหรี่

A A A

Precontemplation

สุขภาพของลูกจะเป็นอย่างไรถ้าคุณแม่ตั้งครรภ์สูบบุหรี่


1. ฮอร์โมนผิดปกติ

• บางการวิจัยพบว่า การสูบบุหรี่เพิ่มความเสี่ยงของอาการปวดท้องระหว่างมีประจำเดือน และทำให้ประจำเดือนมาไม่ปกติ
• ประจำเดือนของผู้หญิงที่สูบบุหรี่จะหมดเมื่ออายุน้อยกว่าผู้หญิงที่ไม่ได้สูบบุหรี่


2. ความเสี่ยง

• รกเกาะผิดที่เพิ่มขึ้น
• รกลอกตัวกะทันหันเพิ่มขึ้น 
• คลอดก่อนกำหนดเพิ่มขึ้นเท่าตัว
• ความเสี่ยงเพิ่มขึ้นในผู้หญิงที่มีอายุมากขึ้น 
• ความเสี่ยงเพิ่มขึ้นในผู้หญิงที่ใช้แรงงาน 
• เป็นสาเหตุของการเสียชีวิตของทารกในสหราชอาณาจักร ปีละ 420 คน


3. แท้งลูก

• ความเสี่ยงเพิ่มขึ้นร้อยละ 27
• ผู้หญิงสูบบุหรี่ที่มีอายุต่ำกว่า 30 ปี ทารกที่แท้ง ส่วนใหญ่เป็นทารกที่มีโครโมโซมปกติ 
• ผู้หญิงสูบบุหรี่ที่มีอายุมากกว่า 30 ปี ทารกที่แท้ง ส่วนใหญ่เป็นทารกที่มีโครโมโซมผิดปกติ
• การสูบบุหรี่ในผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ เป็นสาเหตุของการแท้งลูกในสหราชอาณาจักร ปีละ 4,300 คน


4. ทารกในครรภ์

• ทำให้เลือดไปเลี้ยงทารกลดลง 
• การเคลื่อนไหวของทารกลดลง 
• การหายใจช้าลง 
• อัตราการสังเคราะห์ prostacyclin ในเลือดที่เลี้ยงรกลดลง 

 smokepregnant

 

 

ที่มา

มูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่

 

 

 

 

 

suicide3

 

 

 

         มีความสัมพันธ์กันอย่างชัดเจนว่าผู้ที่สูบบุหรี่ หรือ ผู้ที่ติดนิโคติน จะมีอัตราการฆ่าตัวตายสูงกว่าผู้ที่ไม่สูบบุหรี่ 2.5-4.3 เท่า และอัตราการฆ่าตัวตายจะสูงขึ้นตามจำนวนมวนบุหรี่ที่สูบต่อวัน โดยเฉพาะผู้ที่สูบมาก โดยมีคำอธิบายหลายอย่างที่ได้อธิบายถึงความสัมพันธ์ระหว่างการสูบบุหรี่กับการฆ่าตัวตาย เช่น

 

- การสูบบุหรี่ เพื่อที่จะระบายอาการซึมเศร้า ซึ่งอาการซึมเศร้าทำให้เพิ่มโอกาสเสี่ยงในการฆ่าตัวตายสูงขึ้น
- การสูบบุหรี่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของสารเคมีในสมอง เช่น ลดการหลั่งซีโรโทนิน (serotonin) ในสมอง มีผลให้เกิดอาการซึมเศร้า
- การสูบบุหรี่ เพิ่มโอกาสเสี่ยงในการเกิดมะเร็ง ทำให้เพิ่มโอกาสเสี่ยงในการฆ่าตัวตายสูงขึ้น
- การสูบบุหรี่มีความสัมพันธ์กับบุคลิกภาพของบางคน เช่น ความเชื่อมั่นในตนเองลดลง ซึ่งอาจเป็นสาเหตุนำใปสู่การคิดฆ่าตัวตาย

 


“บุหรี่มีแต่โทษ เลิกเสียเถอะ”

 


ที่มา
สุทัศน์ รุ่งเรืองหิรัญญา และรณชัย คงสกนธ์. พิษภัยและการรักษาโรคติดบุหรี่. กรุงเทพฯ: สหประชาพาณิชย์. 2552

capture 20170329 222439

 

สารพิษที่สำคัญในควันบุหรี่ ได้แก่

     1. นิโคติน (Nicotine)                                            7. พอโลเนียม-210 (Polonium-210)

     2. ทาร์ หรือน้ำมันดิน (Tar)                                      8. อาร์เซนิค หรือสารหนู (Arsenic)

     3. คาร์บอนมอนอกไซด์ (Carbon monoxide)                  9. ปรอท (Mercury)

     4. ไนโตรเจนไดออกไซด์ (Nitrogen dioxide)                  10. ตะกั่ว (Lead)

     5. ไฮโดรเจนไซยาไนด์ (Hydrogen cyanide)                   11. แคดเมียม (Cadmium)

     6.ฟอร์มาลีน (Formaldehyde)

     7. อาร์เซนิค หรือสารหนู (Arsenic)

 capture 20170329 221040

 

     นอกจากสารเคมีดังกล่าวแล้ว ยังพบว่าบริษัทผู้ผลิตได้เติมสารเคมีอื่นๆ หรือที่เรียกว่า “สารปรุงแต่ง” เข้าไปในบุหรี่อีก เพื่อช่วยเพิ่มรสชาติ ช่วยให้มีกลิ่นหอม ทำให้เก็บได้นานขึ้น หรือเพื่อเป็นตัวเพิ่มฤทธิ์เสพติดของนิโคติน โดยสารปรุงแต่งเหล่านี้บางชนิดไม่มีอันตราย แต่เมื่อนำมาใส่ในบุหรี่และถูกเผาไหม้ก็จะกลายเป็นสารที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพได้

ตัวอย่างสารปรุงแต่งในบุหรี่ที่พบว่าเป็นอันตรายต่อสุขภาพ

1. แอมโมเนีย (Ammonia): เป็นสารที่ช่วยให้นิโคตินเข้าสู่สมองเร็วขึ้น ช่วยเพิ่มฤทธิ์เสพติดของนิโคติน และยังเป็นสารที่ก่อให้เกิดการระคายเคืองเนื้อเยื่อตา หลอดลม ผิวหนัง ทำให้แสบตา แสบจมูก หลอดลมอักเสบ ไอมีเสมหะมาก

2. ลิ้นกวาง (Coumarin): นิยมใส่เพื่อเพิ่มกลิ่น (กลิ่นวานิลา) และรสชาติของบุหรี่ แต่สารนี้เป็นเป็นอันตรายต่อตับ ใช้เป็นสารฆ่าหนู และเป็นสารก่อมะเร็ง

3. กานพลู (Clove): ใส่เพื่อช่วยทำให้สูบบุหรี่ได้ง่ายขึ้น เพราะเมื่อเผาไหม้จะเกิดสารประกอบที่ทำให้ชาเฉพาะที่ และกดประสาทส่วนกลางได้ นอกจากนี้ยังทำให้เกิดเลือดออกในลำไส้ เลือดคั่งในปอด ถุงลมโป่งพอง และน้ำท่วมปอดได้

4. Diethyl glycol (DEG): เป็นสารเดียวกับสารที่ใช้เติมในหม้อน้ำรถยนต์ โดยสารนี้ใส่ในบุหรี่เพื่อเพิ่มความชุ่มชื้น ทำให้ควันบุหรี่นุ่มนวล และสูบได้ง่ายขึ้น แต่สารนี้จะทำให้เกิดผลเสียต่อไตแม้ได้รับในปริมาณเพียงเล็กน้อย

 

ที่มา:
1. ประกิต วาทีสาธกกิจ. 50 คำถามสำหรับผู้สูบบุหรี่และไม่สูบบุหรี่. มูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่. 2554.
2. สารเคมีจากการเผาไหม้ของบุหรี่. พิษภัยของบุหรี่. สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 28.
3. วราภรณ์ ภูมิสวัสดิ์ และคณะ. แนวทางเวชปฏิบัติเพื่อรักษาผู้ติดบุหรี่. กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข; 2546. 53-4.

 

capture 20170329 200116

 

 

ความรู้สึกของคนที่ไม่เคยรู้จัก แต่ต้องตกเป็นเหยื่อของ"ควันบุหรี่มือสอง"
     17 "รู้สึกโชคไม่ดีเมื่อต้องไปอยู่ข้างๆ"
     17 "รู้สึกเหมือนปอดของผมโดนทำร้ายมากที่สุดในชีวิต เมื่อต้องอยู่สิงห์อมควันทั้งหลาย"

 

มุมมองที่มีต่อผู้หญิงที่สูบบุหรี่
     17 ผู้ให้สัมภาษณ์: เพศชายอายุ 51 ปี อาชีพรับราชการ
"ปกติพี่ก็ไม่ชอบคนสูบบุหรี่อยู่แล้วนะ เพราะเหม็นทั้งควัน ทั้งกลิ่นตัว ลมหายใจ แล้วถ้าผู้สูบเป็นผู้หญิงด้วยแล้วล่ะก็ยิ่งดูไม่ดี น่าจะเป็นคนไม่ดีน่ะ"
     17 ผู้ให้สัมภาษณ์: เพศชาย อายุ 24 ปี อาชีพนักกฎหมาย 
"ผมเคยคิดจะลองสูบบุหรี่เหมือนกันนะ แต่เอาเข้าจริงก็ไม่ได้ลอง สำหรับทัศนคติที่มีต่อผู้หญิงสูบบุหรี่นั้น ผมมองว่าไม่เหมาะสมทั้งด้านสุขภาพ ภาพลักษณ์ ดูหมดสง่าราศี หมดสวยครับ ถ้าหากว่ามีแฟนที่สูบบุหรี่ก็คงพยายามช่วยบอก แนะนำ หรือหาวิธีให้เค้าเลิก (กรณีที่คบกันแล้วมาสูบทีหลังหรือมารู้ทีหลัง 555) แต่ถ้ารู้มาก่อนว่าเค้าสูบบุหรี่คงไม่เลือกคบเป็นแฟนครับ"

 

ความรู้สึกของลูก

การสำรวจของสำนักงานวิจัยเอแบคโพลล์ พบว่าการสูบบุหรี่ของพ่อส่งผลต่อความรู้สึกของลูก โดย
     17 ร้อยละ 97.4 รู้สึกเหม็นเมื่อเห็นพ่อสูบอยู่ใกล้ๆ
     17 ร้อยละ 99.5 รู้สึกไม่ชอบที่พ่อสูบบุหรี่
     17 ร้อยละ 70 รู้สึกอายที่มีพ่อสูบบุหรี่
     17 และร้อยละ 99.2 อยากให้พ่อเลิกสูบบุหรี่
การมีคนสูบบุหรี่ในบ้าน เพิ่มความเสี่ยงที่เด็กๆ ที่อยู่ในบ้านจะติดบุหรี่

 

ที่มา

     1. มูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่

     2. นิสิตเภสัชศาสตร์. ควันหลง. คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร; 2557.

    

การสูบบุหรี่ก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อสุขภาพของคุณเป็นอย่างมาก จากสถิติของสำนักควบคุมการบริโภคยาสูบ กรมควบคุมโรค รายงานว่าผู้เสียชีวิตจากการสูบบุหรี่ เฉลี่ยวันละ 142 คน ชั่วโมงละ 6 คน ซึ่งนับว่าเป็นจำนวนที่สูงมาก ร่างกายเมื่อได้รับสารพิษจากบุหรี่เป็นเวลานาน จะทำให้เกิดโรคต่างๆมากมาย

หลายคนรู้ว่าบุหรี่นั้นไม่ดี แต่มีไม่กี่คนที่รู้ว่าไม่ดีอย่างไร ?

         บุหรี่เป็นสาเหตุของโรคมากมายที่ส่งผลกระทบต่อชีวิตและทรัพย์สิน ทำให้อัตราการตายจากโรคเรื้อรัง เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคมะเร็งปอด และโรคถุงลมโป่งพองเพิ่มสูงขึ้น นอกจากการสูบบุหรี่จะมีผลต่อสุขภาพของผู้สูบโดยตรงแล้ว ควันบุหรี่ยังส่งผลกระทบต่อผู้อื่นที่ได้สูดดมควันบุหรี่เข้าไปอีกด้วย

แชร์ประสบการณ์เลิกบุหรี่

Experience VDO6
Experience VDO5
Experience VDO4
Experience VDO3
Experience VDO2
Experience VDO1