สารพิษที่สำคัญในควันบุหรี่ ได้แก่
1. นิโคติน (Nicotine) 7. พอโลเนียม-210 (Polonium-210)
2. ทาร์ หรือน้ำมันดิน (Tar) 8. อาร์เซนิค หรือสารหนู (Arsenic)
3. คาร์บอนมอนอกไซด์ (Carbon monoxide) 9. ปรอท (Mercury)
4. ไนโตรเจนไดออกไซด์ (Nitrogen dioxide) 10. ตะกั่ว (Lead)
5. ไฮโดรเจนไซยาไนด์ (Hydrogen cyanide) 11. แคดเมียม (Cadmium)
6.ฟอร์มาลีน (Formaldehyde)
7. อาร์เซนิค หรือสารหนู (Arsenic)
นอกจากสารเคมีดังกล่าวแล้ว ยังพบว่าบริษัทผู้ผลิตได้เติมสารเคมีอื่นๆ หรือที่เรียกว่า “สารปรุงแต่ง” เข้าไปในบุหรี่อีก เพื่อช่วยเพิ่มรสชาติ ช่วยให้มีกลิ่นหอม ทำให้เก็บได้นานขึ้น หรือเพื่อเป็นตัวเพิ่มฤทธิ์เสพติดของนิโคติน โดยสารปรุงแต่งเหล่านี้บางชนิดไม่มีอันตราย แต่เมื่อนำมาใส่ในบุหรี่และถูกเผาไหม้ก็จะกลายเป็นสารที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพได้
ตัวอย่างสารปรุงแต่งในบุหรี่ที่พบว่าเป็นอันตรายต่อสุขภาพ
1. แอมโมเนีย (Ammonia): เป็นสารที่ช่วยให้นิโคตินเข้าสู่สมองเร็วขึ้น ช่วยเพิ่มฤทธิ์เสพติดของนิโคติน และยังเป็นสารที่ก่อให้เกิดการระคายเคืองเนื้อเยื่อตา หลอดลม ผิวหนัง ทำให้แสบตา แสบจมูก หลอดลมอักเสบ ไอมีเสมหะมาก
2. ลิ้นกวาง (Coumarin): นิยมใส่เพื่อเพิ่มกลิ่น (กลิ่นวานิลา) และรสชาติของบุหรี่ แต่สารนี้เป็นเป็นอันตรายต่อตับ ใช้เป็นสารฆ่าหนู และเป็นสารก่อมะเร็ง
3. กานพลู (Clove): ใส่เพื่อช่วยทำให้สูบบุหรี่ได้ง่ายขึ้น เพราะเมื่อเผาไหม้จะเกิดสารประกอบที่ทำให้ชาเฉพาะที่ และกดประสาทส่วนกลางได้ นอกจากนี้ยังทำให้เกิดเลือดออกในลำไส้ เลือดคั่งในปอด ถุงลมโป่งพอง และน้ำท่วมปอดได้
4. Diethyl glycol (DEG): เป็นสารเดียวกับสารที่ใช้เติมในหม้อน้ำรถยนต์ โดยสารนี้ใส่ในบุหรี่เพื่อเพิ่มความชุ่มชื้น ทำให้ควันบุหรี่นุ่มนวล และสูบได้ง่ายขึ้น แต่สารนี้จะทำให้เกิดผลเสียต่อไตแม้ได้รับในปริมาณเพียงเล็กน้อย
ที่มา:
1. ประกิต วาทีสาธกกิจ. 50 คำถามสำหรับผู้สูบบุหรี่และไม่สูบบุหรี่. มูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่. 2554.
2. สารเคมีจากการเผาไหม้ของบุหรี่. พิษภัยของบุหรี่. สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 28.
3. วราภรณ์ ภูมิสวัสดิ์ และคณะ. แนวทางเวชปฏิบัติเพื่อรักษาผู้ติดบุหรี่. กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข; 2546. 53-4.