เภสัชอาสาพาเลิกบุหรี่

A A A

Action

     อยากเลิกบุหรี่แต่กลัวอ้วน เป็นสิ่งที่คนส่วนใหญ่กังวล เนื่องจากสารหลายชนิดที่อยู่ในควันบุหรี่จะกระตุ้นให้ร่างกายเผาผลาญอาหารได้เร็วกว่าปกติ เมื่อหยุดสูบบุหรี่ ร่างกายจะเผาผลาญอาหารได้ในอัตราปกติ จึงมีแนวโน้มที่จะทำให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น แต่ปัญหานี้จะไม่เกิดกับผู้สูบบุหรี่ทุกคน พบว่าหนึ่งในสามของผู้หญิงที่เลิกสูบบุหรี่น้ำหนักตัวจะไม่เพิ่มขึ้นเลย ดังนั้นในขั้นตอนแรกควรเลิกบุหรี่ให้ได้ก่อน แล้วจึงมาแก้ปัญหาน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้น โดยปฏิบัติตามคำแนะนำด้านโภชนาการและออกกำลังกายเป็นประจำ ดังนี้


1. รับประทานอาหารปริมาณน้อยแต่บ่อยครั้ง อาหารเช้าเป็นมื้อสำคัญ จะเป็นมื้อที่เพิ่มอัตราการเผาผลาญสารอาหารด้วย
2. ออกกำลังกายให้มากขึ้น เนื่องจากจะทำให้การไหลเวียนของเลือดดีขึ้นและน้ำหนักตัวไม่เพิ่ม
3. ดื่มน้ำมาก ๆ อย่างน้อยวันละ 8 แก้ว เพื่อลดอาการหิว และทำให้ร่างกายสดชื่น
4. พักผ่อนให้เพียงพอ
5. หลีกเลี่ยงลูกอม หรือ หมากฝรั่ง เพราะจะทำให้น้ำหนักตัวเพิ่ม และเป็นสิ่งกระตุ้นให้ปากคิดถึงบุหรี่อยู่ตลอดเวลาที่อม
6. อย่าอดอาหาร เพราะจะทำให้รู้สึกหิวมากขึ้น ให้รับประทานอาหารเท่าเดิม โดยหลีกเลี่ยงอาหารรสจัด พยายามเคี้ยวอาหารให้ช้า ๆ 

how to eat

 

ที่มา
สุทัศน์ รุ่งเรืองหิรัญญา, รณชัย คงสกนธ์. พิษภัยและการรักษาโรคติดบุหรี่. กรุงเทพฯ: สหประชาพาณิชย์. 2552.

Devel1

 

• มีกฎประจำตัว “ ไม่สูบบุหรี่ ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น”
ขอแสดงความยินดีกับท่านด้วยที่สามารถมาถึงขั้นนี้แล้ว ขอให้ท่านตั้งใจ และยึดมั่นกับกฎประจำตัวที่ว่า “ไม่สูบบุหรี่ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น” ถ้าท่านสามารถยึดกฎข้อนี้เป็นกฎประจำตัวได้ รับรองว่าอาการถอนนิโคตินก็ไม่มีผลต่อท่าน

 

Devel2


• หนึ่งเดือนแรก : สู้สุดชีวิต
หนึ่งเดือนแรก เป็นช่วงที่ท่านจะรู้สึกทุกข์ทรมาน หรือ ไม่สบายใจอย่างมากจากการเลิกบุหรี่ ท่านต้องต่อสู้กับอาการถอนยาของสารเสพติด ความเคยชิน หรือ พฤติกรรมที่ท่านคุ้นเคย ระยะนี้ท่านจึงต้องสู้สุดชีวิต ขอให้ท่านเชื่อมั่นในตัวเอง ท่านก็จะสามารถก้าวผ่านมันไปได้อย่างแน่นอน


• สี่เดือนแรก : พิชิตงานสังสรรค์
สี่เดือนแรกยังจัดเป็นระยะก้ำกึ่ง ท่านพึ่งผ่านช่วงที่ทรมานที่สุดมาได้หมาด ๆ อาจมีปัจจัยยั่วเย้ามากระตุ้นท่าน เช่น เพื่อน งานสังสรรค์ ถ้าท่านเลิกบุหรี่ได้แล้ว และมั่นใจว่าจะไม่กลับไปสูบอีก ท่านสามารถเริ่มเข้าสู่งานสังสรรค์ได้ แต่อย่าลืมยึดมั่นกฎประจำตัวเป็นที่ตั้ง ระยะนี้เป็นระยะสร้างภูมิคุ้มกันให้กับตัวเอง ต้องบอกตัวเองเสมอว่า แม้อุปสรรคหนักแค่ไหน ท่านก็สามารถก้าวผ่านมันไปได้

 

Devel3
หนึ่งปีแรก : ผูกพันเรื่องรอบตัว
ท่านสามารถผ่านระยะเวลาสี่เดือนมาได้แล้ว ศึกสุดท้ายที่ท่านจะพบคือ ปัญหาความเครียดจากเรื่องรอบตัวต่าง ๆ ดังนั้นขอให้ท่านมีสติในการแก้ปัญหา และหาแนวทางในการรับมือกับความครียด หรือ ความไม่สบายใจของท่าน โดยห้ามใช้บุหรี่เป็นตัวช่วยอีก กฎประจำตัวต้องยึดมั่นตลอดเวลา

 

ที่มา:

ศูนย์บริการเลิกบุหรี่ทางโทรศัพท์แห่งชาติ. คู่มือเลิกบุหรี่ “ชีวิตปลอดบุหรี่ การเตรียมตัวและชีวิตใหม่”. พิมพ์ครั้งที่ 2. 2553. 

     การเลิกบุหรี่จะเป็นเรื่องที่ง่ายขึ้น หากท่านมีความมุ่งมั่นและตั้งใจจริง มีเป้าหมายชัดเจน เคล็ดลับการเลิกบุหรี่ที่อยากแนะนำแก่ท่านที่ตั้งใจจริง นั่นคือเทคนิค 3 หา 7 ไม่ ท่านสามารถนำไปปฏิบัติตามได้ทั้ง 10 เคล็ดลับ ในขณะเดียวกันเภสัชกรก็พร้อมเป็นที่ปรึกษาให้กับทุกท่าน3 find 7 no 

 

ที่มา: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

     ช่วงถอนยา ถือว่าเป็นช่วงแห่งวิกฤต เพราะท่านอาจจะมีอาการผิดปกติต่าง ๆ แต่ไม่เป็นไร ขอให้ท่านตรียมใจได้เลย ว่าอาการจะเป็นมากในช่วง 2-5 วันแรกที่ท่านเลิกบุหรี่ และอาการส่วนใหญ่จะดีขึ้นภายใน 10 วัน จากนั้นอาการทั้งหมดจะหายไปใน 3-4 สัปดาห์

 wd1    

      การถอนยา เป็นสัญญาณบอกถึงว่า ร่างกายของท่านกำลังกลับเข้าสู่สภาวะแข็งแรง หรือ ปกติ อาการที่ท่านจะได้เจอบ่อย ได้แก่


• เวียนศีรษะ : ตอนนี้อากาศที่ดีกำลังเข้าสู่สมองของท่าน ซึ่งจากเดิมสมองของท่านมีแต่ปริมาณคาร์บอนมอนอกไซด์เป็นประจำ ร่างกายจึงจำเป็นต้องมีการปรับตัว ส่วนใหญ่มีอาการไม่นานประมาณเพียง 2 ถึง 3 วัน

• ปวดศีรษะ : สาเหตุเกิดจากการที่ร่างกายกำลังขับไล่สารนิโคตินออกมา รวมถึงจากความเครียดของการที่ท่านตัดสินใจเลิกบุหรี่ก็ได้ เพียงแค่ท่านลองหลับตาสักพัก ฝึกหายใจ หรือ ทานยาแก้ปวดศีรษะสักเม็ดก็ช่วยให้อาการท่านดีขึ้น

 

wd2


• ไอ : ปอดและหลอดลมของท่านกำลังช่วยกันขจัดสิ่งสกปรกแปลกปลอมต่างๆ ออกมา อาการไออาจยาวนานได้ถึง 2 ถึง 3 สัปดาห์ แต่ทว่าการดื่มน้ำจะช่วยให้ท่านรู้สีกดีขึ้นได้
• ปากแห้ง : เนื่องจากการดูดซับน้ำลายและการทำงานของต่อมในช่องปากต่างๆ ตลอดจนปากและคอของท่านกำลังดีขึ้น โดยอาการจะหายไปใน 2-3 วัน
• หงุดหงิด : เป็นอาการเครียดกระวนกระวายไม่สบายใจ ซึ่งเป็นอาการปกติของผู้ที่ต้องการเลิกจากสิ่งที่เคยติด ท่านสามารถแก้ไขด้วยการทำตัวยุ่งๆ เข้าไว้ หมั่นหากิจกรรมมาทำจนลืมอาการหงุดหงิดไปเลย

 

wd3


• กระหาย : เป็นพฤติกรรมที่รู้สึกอยากกระทำในสิ่งที่ท่านพึงพอใจ เช่น อยากสูบบุหรี่ แต่เชื่อไหมว่าความกระหายจะหมดไปภายในเวลาไม่เกิน 20 ถึง 30 วินาที และบางครั้งความรู้สึกกระหายนี้ จะหายไปได้เองโดยไม่ทันรู้ตัวเสียอีก

 

wd5


• ตั้งสมาธิได้ลำบาก : อาการนี้อาจทำให้ท่านเกิดปัญหาในการทำงานบ้าง แต่ไม่เกิน 1 สัปดาห์ อาการจะดีขึ้น ตามข้อเสนอแนะเพื่อให้ท่านได้ฝึกจิตใจ ให้มีสมาธิ คือ ให้ท่านพักบ่อยๆ เปลี่ยนอิริยาบถบ้าง เช่น ลุกไปล้างหน้า เดินเล่น หรือดื่มน้ำผลไม้ จะช่วยให้ความสดชื่น มีชีวิตชีวากลับคืนมา

 

wd6


• นอนหลับยาก : ระยะนี้ระบบการนอนของท่านอาจมีปัญหา เดี๋ยวหลับเดี๋ยวตื่น เดี๋ยวง่วงเดี๋ยวตาค้าง แนะนำให้ท่านนอนเมื่อท่านอยากนอน และถ้าไม่ง่วงก็ลุกมาทำกิจกรรมที่ทำให้ท่านมีความสุข อาการนอนหลับผิดปกติจะมีผลต่อท่านประมาณ 2-4 สัปดาห์เท่านั้น

 

wd4

 

ที่มา:

1. อรวรรณ หุ่นดี. สารพันอันตรายจากบุหรี่และวิธีเลิก. กรุงเทพฯ: อักษรบัณฑิต. 2531.

2. สุทัศน์ รุ่งเรืองหิรัญญา และรณชัย คงสกนธ์. พิษภัยและการรักษาโรคติดบุหรี่. กรุงเทพฯ: สหประชาพาณิชย์. 2552

วิดีโอ

Med vdo
Tobac
Electobacco
Quitsmoke
Freiendsmoke
7 Tips
ที่มา: https://www.youtube.com/watch?v=CXdwuTpcSH0
Trysmoke
การใช้หมากฝรั่งนิโคติน
Previous Next Play Pause