เภสัชอาสาพาเลิกบุหรี่

เลิกบุหรี่เพื่อ คนที่คุณรัก

การสูบบุหรี่จำนวนมาก จะทำให้คุณมีชีวิตอยู่กับคนที่คุณรักได้อีกไม่นาน

มิตรภาพที่ดี ต้องไม่มีบุหรี่

“ถ้าท่านรักเพื่อน อย่าชวนเพื่อนสูบ แต่ชวนเพื่อนเลิกบุหรี่เถอะ”

เริ่มต้นชีวิตใหม่ ด้วยการเลิกบุหรี่

“หันหลังให้กับบุหรี่ สุขภาพดีขึ้นอย่างแน่นอน” 

อย่าปล่อยให้บุหรี่ ทำลายชีวิตคุณ

“อยากมีชีวิตอยู่ดูลูกหลานนาน ๆ อย่าให้บุหรี่เผาผลาญชีวิตคุณ” 

Previous Next Play Pause
A A A

     ในปัจจุบันพบว่าการสูบบุหรี่ เป็นกุญแจสำคัญในการเกิดโรคมะเร็งหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็นมะเร็งปอด มะเร็งในช่องปาก กล่องเสียง หลอดอาหาร ไตและกรวยไต กระเพาะปัสสาวะ ตับอ่อน กระเพาะอาหาร ปากมดลูก และมะเร็งเม็ดเลือดขาว ซึ่งมะเร็งทุกชนิดล้วนส่งผลกระทบต่อสุขภาพของผู้สูบบุหรี่โดยตรง ทำห้ผู้สูบมีชีวิตที่สั้นลงกว่าปกติ โดยความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งแต่ละชนิดจะขึ้นกับเพศ และระยะเวลาที่สูบบุหรี่

• มะเร็งปอด
     เป็นโรคที่น่ากลัว เพราะมักไม่มีอาการ หรือ ไม่มีอาการที่แน่นอนในระยะแรก เมื่อมีอาการ โรคมักจะรุนแรงแล้ว การเกิดมะเร็งปอดมีสาเหตุหลักมาจากการสูบบุหรี่ โดยผู้ที่สูบบุหรี่ไม่เกิน 20 มวนต่อวัน จะมีความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งปอดได้ประมาณ 22 เท่า เมื่อเปรียบเทียบกับผู้ที่ไม่เคยสูบบุหรี่มาก่อนเลย ส่วนผู้ที่สูบบุหรี่เกิน 2 ซองต่อวัน จะมีโอกาสเกิดมะเร็งปอดได้มากถึง 45 เท่า มะเร็งปอดสามารถพบได้ในผู้ที่ไม่ได้สูบบุหรี่แต่สัมผัสกับควันบุหรี่ที่ได้รับจากผู้อื่น หรือ คนใกล้ชิด หนทางเดียวที่จะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งปอดได้ คือการเลิกบุหรี่อย่างเด็ดขาด


• มะเร็งในช่องปาก และคอหอย
     การสูบบุหรี่ทำให้เกิดมะเร็งในช่องปากได้ เนื่องจากควันที่ร้อน ๆ ของการสูบบุหรี่จะเข้าไปในช่องปาก และทำอันตรายต่อเนื้อเยื่อ โดยเฉพาะที่เพดานมักจะเกิดแผลได้ง่าย และบ่อย ผู้ที่สูบบุหรี่มีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคมากกว่าคนทั่วไปประมาณ 2-10 เท่า แต่ความเสี่ยงนี้จะลดลงไปเท่ากับผู้ที่ไม่เคยสูบบุหรี่เลยหลังเลิกบุหรี่ได้มากกว่า 10 ปี

• มะเร็งกล่องเสียง
     เป็นมะเร็งที่พบมากที่สุดเป็นอันดับสอง รองจากมะเร็งปอด ความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งจะเพิ่มขึ้นตามจำนวนของบุหรี่ที่สูบต่อวัน โดยผู้ที่สูบบุหรี่จัดจะมีโอกาสเป็นมะเร็งชนิดนี้ได้มากถึง 15 เท่าของคนทั่วไป และผู้ที่สูบบุหรี่น้อยกว่า 1 ซองต่อวันจะมีความเสี่ยงประมาณ 10 เท่าเมื่อเทียบกับผู้ที่ไม่เคยสูบบุหรี่เลย และหากผู้สูบบุหรี่ดื่มสุราเป็นประจำก็จะยิ่งเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคมากขึ้น หากผู้ที่สูบบุหรี่สามารถเลิกบุหรี่ได้มากกว่า 15 ปี ความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งชนิดนี้ก็จะลดลงไปเท่าเทียมกับผู้ที่ไม่เคยสูบบุหรี่เลย


• มะเร็งหลอดอาหาร
     เป็นมะเร็งที่มีความสัมพันธ์กับการสูบบุหรี่ แต่ความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งจะไม่ลดลง แม้ผู้สูบบุหรี่ได้เลิกบุหรี่แล้ว


• มะเร็งที่ไตและกรวยไต
     ความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งจะเพิ่มขึ้นตามจำนวนของบุหรี่ที่สูบต่อวัน และมักพบในเพศชายมากกว่าเพศหญิง หากผู้สูบเลิกบุหรี่ได้มากกว่า 15 ปี จะช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งชนิดนี้ได้ประมาณร้อยละ 15-25


• มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ
     มะเร็งชนิดนี้ส่วนมากพบในเพศชาย และพบในผู้ที่สูบบุหรี่มากกว่าผู้ที่ไม่สูบเลยถึง 3 เท่า และการเลิกบุหรี่สามารถลดความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งชนิดนี้


มะเร็งตับอ่อน
     เป็นมะเร็งที่มีความรุนแรงสูง เนื่องจากมีอัตราการรอดชีวิตที่ 5 ปี ไม่ถึงร้อยละ 5 การสูบบุหรี่เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งตับอ่อนได้ถึงร้อยละ 70 และความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งจะเพิ่มขึ้นตามจำนวนของบุหรี่ที่สูบ ยิ่งสูบบุหรี่มากก็ยิ่งเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคมาก อย่างไรก็ตามความเสี่ยงจะลดลง เมื่อผู้สูบสามารถเลิกบุหรี่ได้มากกว่า 10 ปีขึ้นไป


• มะเร็งกระเพาะอาหาร
การสูบบุหรี่มีส่วนทำให้เพิ่มความเสี่ยงของการเกิดโรค 1.65 เท่า 


• มะเร็งปากมดลูก
เป็นมะเร็งที่พบบ่อยเป็นอันดับที่สามในสตรีทั่วโลก ซึ่งการสูบบุหรี่เพิ่มโอกาสเสี่ยงในการเกิดมะเร็งที่ปากมดลูกราว 2 เท่าของผู้ที่ไม่สูบบุหรี่


• มะเร็งเม็ดเลือดขาว
การสูบบุหรี่มีผลเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวได้อย่างชัดเจน และยังทำให้โรคนี้รักษาได้ยากขึ้น และมีความรุนแรงมากขึ้น

 


ที่มา
1. Stephen Hamann และคณะ. การทบทวนองค์ความรู้เกี่ยวกับการควบคุมการบริโภคยาสูบ. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: ศูนย์การพิมพ์แก่นจันทร์. 2549.
2. พนิตย์ จิวะนันทประวัติ. บุหรี่ภัยเงียบของผู้หญิง. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: ดี.เค.โปรเซส. 2553.
3. สมเกียรติ วัฒนศิริชัยกุล. ตำราวิชาการสุขภาพ การควบคุมการบริโภคยาสูบสำหรับบุคลากรและนักศึกษาวิชาชีพสุขภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 1. 2550.
4. อรวรรณ หุ่นดี. สารพันอันตรายจากบุหรี่และวิธีเลิก. กรุงเทพฯ: อักษรบัณฑิต. 2531.
5. สุทัศน์ รุ่งเรืองหิรัญญา และรณชัย คงสกนธ์. พิษภัยและการรักษาโรคติดบุหรี่. กรุงเทพฯ: สหประชาพาณิชย์. 2552

ทราบหรือไม่

loading...

วิดีโอ

การใช้หมากฝรั่งนิโคติน
Freiendsmoke
Quitsmoke
7 Tips
Electobacco
ที่มา: https://www.youtube.com/watch?v=CXdwuTpcSH0
Tobac
Med vdo
Trysmoke
Previous Next Play Pause
ส่งข้อความถึงเรา web2quit@gmail.com

สถานที่ Pharmaceutical Sciences, PSU